สำหรับคนที่เริ่มต้นทำประกันชีวิต เพื่อให้ได้แบบประกันที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด
โดยดูจากความคุ้มครองและผลประโยชน์ที่คุณต้องการ
คุ้มครองกรณีเสียชีวิต
คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลกรณีไม่นอนโรงพยาบาล (ผู้ป่วยนอก)
คุ้มครองค่าห้อง ค่ารักษาพยาบาลกรณีนอนโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน)
คุ้มครองอุบัติเหตุ
คุ้มครองโรคร้ายแรง
และต้องการได้รับเงินคืนระหว่างทาง สะดวกจ่ายเบี้ยระยะสั้นหรือระยะยาว และมีงบอยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อนำเสนอแบบประกันที่เหมาะสม
หากอยากหาแบบประกันที่เหมาะกับคุณสามารถ ติดต่อปรึกษาฟรี
Q: ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA Take Care เหมาะกับใคร
A: เหมาะกับหัวหน้าครอบครัว เพื่อเป็นหลักประกันให้คนข้างหลัง หรือผู้ที่มีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุอยู่แล้ว แต่ยังต้องการผลประโยชน์เงินชดเชยรายได้กรณีนอนรักษาในโรงพยาบาลจากอุบัติเหตุ เพื่อให้ไม่ขาดรายได้ หากต้องหยุดงาน
Q: ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA Take Care ให้ความคุ้มครองอุบัติเหตุที่เกิดจากการขับขี่ หรือโดยสารรถจักรยานยนต์หรือไม่
A: ให้ความคุ้มครองเฉพาะในกรณีที่เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง และทุพพลภาพถาวร จากการขับขี่หรือโดยสารจักรยานยนต์เท่านั้น สำหรับความคุ้มครองการชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลฐานะผู้ป่วยในเนื่องจากอุบัติเหตุ ไม่คุ้มครองอุบัติเหตุที่เกิดจากการขับขี่ หรือโดยสารรถจักรยานยนต์
Q: ลักษณะอาชีพมีผลกับการพิจารณารับประกันของการประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA Take Care หรือไม่
A: ลักษณะอาชีพมีผลกับการพิจารณารับประกันของการประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA Take Care โดยบริษัทฯ จะรับประกันภัยเฉพาะผู้เอาประกันภัยที่อยู่ในกลุ่มอาชีพ 1, 2 และ 3 เท่านั้น โดย
- ชั้นอาชีพ 1 หมายถึง เจ้าของ ผู้ปฏิบัติงานด้านบริการ หรือการจัดการ งานเสมียน หรืองานขาย ในธุรกิจหรือการค้า ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานประจำในสำนักงาน และรวมถึงการทำงานฝีมือที่ไม่ใช้เครื่องจักร ลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระดับต่ำ
- ชั้นอาชีพ 2 หมายถึง เจ้าของ ผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการ หรือพนักงานในธุรกิจหรือการค้า ซึ่งทำงานนอกสำนักงานเป็นครั้งคราว หรือเป็นผู้ปฏิบัติทางด้านอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาชีพเฉพาะหรือกึ่งอาชีพเฉพาะ และบางครั้งอาจจะมีการใช้เครื่องจักร หรือเป็นผู้ปฏิบัติงานที่ใช้วิชาชีพที่ต้องทำงานกลางแจ้งเกือบตลอดเวลา ลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระดับปานกลาง
- ชั้นอาชีพ 3 หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานในด้านช่าง หรือกระบวนการผลิต หรือการบริการซึ่งส่วนใหญ่มีการใช้เครื่องจักรกลหนักหรือเป็นผู้ใช้แรงงาน ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการขนส่งที่มีการเดินทางหรือทำงานนอกสำนักงานเป็นประจำ ลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระดับสูง
ทั้งนี้บริษัทฯ จะไม่พิจารณารับรับประกัน สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพที่มีลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระดับสูง เช่น คนเช็ดกระจก(ที่สูง) นักมวยอาชีพ นักมวยปล้ำ ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง คนขับรถบรรทุกสิบล้อ เจ้าหน้าที่ดับเพลิง นักแสดงกายกรรม ผู้แสดงแทน(ผาดโผน) จ๊อกกี้ เทรนเนอร์ม้า และคนเลี้ยงม้า ผู้ฝึกสัตว์ นักประดาน้ำ คนงานประจำสวนป่า ป่าไม้(อยู่ในป่า) ตำรวจ และทหาร(ที่ปฏิบัติงานภาคสนาม) เป็นต้น
Q: การสมัครทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลต้องตรวจสุขภาพหรือไม่
A: ไม่ต้องตรวจสุขภาพ แต่ผู้ทำประกันต้องแถลงข้อมูลสุขภาพตามจริงให้บริษัททราบในใบคำขอเอาประกันภัย ทั้งนี้การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
Q: ถ้าทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลแบบนี้แล้ว จะยังสามารถซื้อสัญญาอื่นเพิ่มเติมได้หรือไม่
A: ไม่สามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมแนบท้ายกรมธรรม์ได้
Q: แบบประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลนี้สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
A: สามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้บางส่วน ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 383
Q: ควรซื้อประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ที่ไหนดี หรือ แบบไหนดี
A: ประกันอุบัติเหตุมีอยู่หลากหลายทางเลือก หนึ่งในนั้นคือประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA Take Care จากเมืองไทยประกันชีวิต ที่ให้ความคุ้มครองที่ตอบโจทย์ทั้งเงินชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลฐานะผู้ป่วยในเนื่องจากอุบัติเหตุ พร้อมรับความคุ้มครองเพิ่ม 2 เท่า หากเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสาธารณะ เช่น อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในรถไฟลอยฟ้า, รถไฟฟ้าใต้ดิน, ในลิฟต์, ห้างสรรพสินค้าและโรงภาพยนต์ เป็นต้น